วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย)
นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย
ประวัติ
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 7 วัน มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา เป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้น เมื่อเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วนได้ประกอบพิธีบูชาขึ้น มีการเวียนเทียนเป็นต้น แต่ไม่ทั่วไปทั่วราชอาณาจักร โดยจะประกอบพิธีในบางวัดเท่านั้น ตามแต่ความศรัทธาของท้องถิ่น ในจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่น ประเพณีถวายพระเพลิงฯ จำลอง ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นต้น
ประวัติพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพุทธประวัติ
พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูปโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด
สถานที่สันนิษฐานว่าเป็นที่โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุแก่เจ้าผู้ครองนครทั้ง 8 ในกุสินารานคร
หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้
- กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี
- กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์
- กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ
- กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม
- มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ
- กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา
- พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์
- มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา
- กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน
- โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า ตุมพะ แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป)
สำหรับกรณีของกษัตริย์เมืองโมริยะนั้น ได้ส่งผู้แทนมาหลังจากที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทั้ง 8 เมืองไปแล้วจึงได้อัญเชิญพระอังคารไปแทน ส่วนโทณพราหมณ์ ก็ได้สร้างสถูปบรรจุทะนานที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุสำหรับตนเอง และผู้คนได้สักการะดังที่ได้กล่าวไป
ศิลปินแห่งชาติ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ศิลปะชั้นเลิศ มักถูกถ่ายทอดจากความรู้สึกนึกคิด และความสามารถของผู้ที่เป็น "ศิลปินชั้นเอก" ซึ่งในปัจจุบันมี ศิลปินสาขาต่าง ๆ มากมาย ที่สร้างผลงานน่าประทับใจ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงกำหนดให้มี วันศิลปินแห่งชาติ และจัดให้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ "ศิลปินแห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี
ประวัติความเป็นมา วันศิลปินแห่งชาติ
วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่าง ๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันศิลปินแห่งชาติ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เพื่อสรรหาส่งเสริมสนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา
ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ
ศิลปินแห่งชาติ นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปีพ.ศ. 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2554) มีศิลปินสาขาต่าง ๆ มาแล้วหลายคน
สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทน เดือนละ 20,000 บาท และสามารถเบิกเงินสวัสดิการเพื่อการรักษาพยาบาลได้ตามระเบียบราชการ รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย และหากเสียชีวิต จะมีค่าช่วยเหลืองานศพ 15,000 บาท ค่าจัดทำหนังสือที่ระลึก 120,000 บาท
คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ มีดังนี้
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
2. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น
3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
6. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
การจำแนกสาขาศิลปะของศิลปินแห่งชาติ
1. สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติหรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้
- จิตรกรรม หมายถึง ภาพเขียนสีและภาพลายเส้น
- ประติมากรรม หมายถึง งานปั้นและแกะสลัก
- ภาพพิมพ์ หมายถึง ศิลปะการพิมพ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่น การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ โลหะ ฯลฯ
- ภาพถ่าย หมายถึง ผลงานศิลปะภาพถ่ายที่เสนอด้วยสื่อและกรรมวิธีต่างๆ
- สื่อประสม หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีและเทคนิคต่างๆอย่างอิสระ
2. สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง งานออกแบบ หรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง บทประพันธ์ที่ปลุกมโนคติของผู้อ่าน ทำให้เกิดจินตนาการความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ต่างๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย บันเทิงคดี สำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ หนังสือเด็ก วรรณกรรมเยาวชนที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง
4. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่
4.1 การละคร ประกอบด้วย ละครรำ เช่น โนห์รา ชาตรี ฯลฯ ละครร้อง โขน ลิเก ระบำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) รำ (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) ฟ้อน (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) เซิ้ง (ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่) หุ่น เช่น หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก หนังใหญ่ หนังตะลุง การเขียนบทร้องหรือบทละครรำ (เพื่อการแสดง)
4.2 การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล
- นักดนตรี ต้องเป็นนักดนตรีเด่นเฉพาะเครื่องมือ
- นักร้อง ต้องมีความสามารถทั้งร้องส่งและร้องรับในการแสดงต่างๆ และสามารถแหล่ทำนองต่างๆ ได้ (แหล่เฉพาะแบบดั้งเดิม)
- นักประพันธ์เพลง ต้องประพันธ์ ทั้งทางร้องและทางดนตรี
- ผู้อำนวยเพลง ต้องเป็นผู้อำนวยเพลงดีเด่น
- ผู้ผลิตเครื่องดนตรี
4.3 การแสดงพื้นบ้าน ประกอบด้วย หมอลำ ซอ ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงบอก สวดคฤหัสถ์ ฯลฯ
สำหรับผู้คว้ารางวัลศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2554 ในสาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และ สาขาศิลปะการแสดง มีดังต่อไปนี้
สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่
นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม
นายเมธา บุนนาค สถาปัตยกรรม
นายทองร่วง เอมโอษฐ สาขาทัศนศิลป์ ประณีตศิลป์-ศิลปคนะปูนปั้น
สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่
นายประภัสสร เสวิกุล สาขาวรรณศิลป์ นวนิยายและกวีนิพนธ์
นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี สาขาวรรณศิลป์ เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์
สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่
นางรัจนา พวงประยงค์ สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์ไทย-ละคร
นายนคร ถนอมทรัพย์ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีสากล-ประพันธ์และขับร้อง
นายเศรษฐา ศิระฉายา สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง
รศ.สดใส พันธุมโกมล สาขาศิลปะการแสดง ละครเวทีและละครโทรทัศน์
วันเด็กแห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติในประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่มิได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา
การจัดงานวันเด็ก
Children's Day ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา
ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่
ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ
ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด[ต้องการอ้างอิง]
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
ช่วงเวลา เดือนเมษายนทุกปี (วันเพ็ญเดือนห้า)
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยความคิดริเริ่มของท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณ จากวัดท่าประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเดินทางมาเพื่อปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีทางขึ้นสู่ตัวปราสาท ผู้ที่สนใจอยากขึ้นชมปราสาทต่างคนต่างขึ้นมาเองโดยไม่กำหนดเวลาประกอบกับจังหวัดสุรินทร์มีประเพณีขึ้นเขาสวายในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกๆ ปี ท่านเจ้าคุณโอภาสธรรมญาณเห็นว่าประเพณีขึ้นเขาเป็นสิ่งดี เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันทำบุญพบปะสังสรรค์ สร้างความสามัคคีและมีโอกาสได้พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย จึงริเริ่มให้จัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญเดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งก็ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกระทั่ง
ปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งทุกปีจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือในช่วงเวลานั้นเราจะมองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงตามความยาวของปราสาทเราสามารถมองลอดประตูทางด้านทิศตะวันตกฝ่ากรอบประตูต่างๆ กว่า ๑๐ กรอบ ทะลุผ่านประตูปรางค์ประธาน และทะลุออกซุ้มประตูหน้า ความยาว ๘๘ เมตร มองเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกรอบประตูพอดี
ความสำคัญ
เป็นวันที่ประชาชนทั่วไปร่วมทำบุญปิดทองนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่ประดิษฐานอยู่ในปรางค์องค์น้อยและทำให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ โดยเฉพาะการทอผ้าไหมทั้งนี้เพราะในช่วงงานประเพณีขึ้นเขา ชาวบ้านหญิงชายจะแต่งกายด้วยผ้าไหมทอลวดลายสวยงามประณีตที่สุดของตนเองเป็นการอวดฝีมือและความสามารถสร้างชื่อเสียงของหมู่บ้านและของตนเองอีกด้วยและยังเป็นโอกาสให้ชาวบ้านได้เที่ยวชมความงามของปราสาทพนมรุ้ง และชักชวนให้คนเดินทางมาเที่ยวชมในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งมากขึ้นทุกปีสาระ
เป็นการแสดงถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีของประชาชนในท้องที่อำเภอประโคนชัย และบริเวณใกล้เคียงและยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มา : www.prapayneethai.com/
วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557
Infographic
Infographic สื่อแนวใหม่ เข้าใจง่ายได้ประโยชน์
ช่วงนี้ใครที่นิยมเล่นอินเตอร์เน็ตอยู่เป็นประจำก็คงจะเคยได้ยินคำว่า Infographic หรือบางคนก็อาจจะรู้จักเป็นอย่างดี แต่อีกหลายคนก็อาจจะยังงงๆ ว่าเอ๊ะ Infographic คืออะไรนะ? ถ้าให้จำกัดความกันสั้นๆ แบบเข้าใจกันง่ายๆ ก็คงต้องขอบอกว่า Infographic ก็คือการย่อยข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจนั่นเอง หรือบางครั้ง Infigraphic อาจจะมาในรูปแบบของ Movie Clip ก็ได้เช่นกัน
ภาพแบบ Infographic นี้มักเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก แต่ทำเป็นภาพที่สื่อออกมาแล้วเข้าใจได้ง่าย ใช้เวลาในการอ่านและดูภาพทั้งหมดได้ภายในเวลาสั้นๆ สำหรับครั้งนี้ eit-showcase มีภาพ Infographic ที่ให้ข้อมูลดีๆ มีประโยชน์มาฝาก เพื่อให้หลายๆ คนที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยได้ทำความรู้จักกับสื่อแนวนี้กันก่อน
คราวหน้าเราจะมาบอกเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของ Infographic ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร มีจุดกำเนิดมาจากไหน ใครเป็นคนคิดค้น สารพัดเรื่องราวที่จะเป็นประโยชน์ให้คุณทันสมัยไม่ตกกระแส ติดตามได้ที่นี่ครับ ^_^
ทีวีระบบดิจิตอล
ถึงจุดเปลี่ยน! ปี 58 วงการโทรทัศน์ไทยก้าวสู่ระบบดิจิตอล
ถ้าจะถามถึงรายการหรือละคร
ที่กำลังออนแอร์ในโทรทัศน์เวลานี้มีอะไรที่ติดตามบ้าง
เชื่อได้เลยว่าต้องมีหลายคนที่สามารถแนะนำได้เป็นคุ้งเป็นแคว
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าระบบโทรทัศน์ที่ใช้ถ่ายทอดรายการและละครที่ใช้กัน
อยู่ในบ้านเรานั้นเป็นระบบแบบไหน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้า
เราจะไม่รู้หรือไม่ให้ความสนใจกับข่าวที่ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.)
กำลังบังคับให้มีการส่งสัญญาณรูปแบบดิจิตอลอย่างเป็นทางการในปี 2558 นี้
เพราะไม่ทราบว่า
ผลของการเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนระบบสัญญาณจะส่งผลอย่างไรกับผู้ชมบ้าง
จะว่าไปแล้วปกติระบบโทรทัศน์บ้านเราเป็นระบบแบบอนาล็อกมาโดยตลอด หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าระบบนี้มันเป็นอย่างไร...ระบบ
อนาล็อกเป็นระบบทีวีที่แพร่สัญญาณโดยการนำเอาสัญญาณภาพมาผสมกับสัญญาณวิทยุ
แพร่ภาพเป็นแบบเอเอ็ม และผสมสัญญาณเสียงเข้ากับคลื่น
และแพร่สัญญาณเป็นแบบเอฟเอ็ม ซึ่งใช้ช่องความถี่ตามมาตรฐานในย่าน VHF ขนาด 7
เมกะเฮิรตซ์ และ UHF ขนาด 8 เมกะเฮิรตซ์
ที่ต้องใช้ช่องความถี่กว้างขนาดนี้
เนื่องจากว่าข้อมูลภาพแบบอนาล็อกเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ผิด
กับระบบดิจิตอล
ที่เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็น
ดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ
ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล
ทำการเข้ารหัสข้อมูล
ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับ
ปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก
ทั้งนี้ เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์
จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4
ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ
แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ)
บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel
สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด
และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ
สำหรับ
ข้อดีของการมีระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอลเข้ามาใช้แทนระบบอนาล็อกนั้น
คือการให้สัญญาณภาพและเสียงที่ดีขึ้น
มีความคมชัดและมีระบบเสียงที่สมจริงมากขึ้น
โดยที่สามารถผลิตรายการได้มากกว่า 1 รายการ (1 ช่อง)
ในช่วงคลื่นเดิมที่ได้รับสัมปทานมา 7 เมกะเฮิรตซ์
ทำให้ผู้ชมสามารถเลือกรับชมรายการที่ต้องการได้ อย่างเช่น ช่องข่าว
ช่องกีฬา สามารถรับชมรายการทีวี
ขณะเดินทางในรถยนต์โดยที่ภาพไม่กระตุกหรือปัญหาสัญญาณอ่อน
มีความเสถียรมากกว่า รวมทั้งยังรองรับการ
ใช้งานในรูปแบบสื่อผสมต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต
แตกต่างกับทีวีดาวเทียม ที่สัญญาณภาพจะต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ
แถมยังมีข้อจำกัดในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงที่ด้อยกว่ามาก
ทำให้สามารถดูได้ทุกที่ไม่มีสะดุด
ถึงแม้ว่าหากดูจากประโยชน์ของมันแล้วก็ไม่เห็นมีข้อเสียอะไร แต่มันมีข้อ
เสียอยู่แน่ล่ะ อย่างน้อยก็เงินในกระเป๋าเรานี้แหละ
เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่มีระบบดิจิตอลเข้ามาแล้ว โทรทัศน์รุ่นเก่า
รุ่นคลาสสิคสมัยคุณย่าคุณยายที่เก็บรักษาไว้และยังดูได้ในปัจจุบันคงมีอัน
ต้องควักเงินซื้อโทรทัศน์รุ่นใหม่
แต่ถ้าไม่ซื้อโทรทัศน์ก็ต้องซื้อกล่องรับสัญญาณ (เซ็ต ท็อป บ๊อกซ์) เพื่อแปลงสัญญาณออกอากาศจากระบบดิจิตอลเป็นระบบอนาล็อกเข้าโทรทัศน์ของเราอยู่ดี
โดย
ขณะนี้ทางกสทช.ได้กำหนดการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนา
ล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล โดยมีเป้าหมายเริ่มทดลองการแพร่ภาพในอีก 6
เดือนข้างหน้า หรือภายในปีนี้
และน่าจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอลได้ภายในต้นปี 2556
และภายใน 4 ปี จะมีการยุติการส่งสัญญาณในระบบอะนาล็อก
และกำหนดให้ครัวเรือนในเมืองใหญ่สามารถรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ไม่น้อย
กว่า 80% ภายใน 5 ปี จนสุดท้ายจะเริ่มกระบวนการยุติการให้บริการระบบอนาล็อก
(อนาล็อก สวิตช์ ออฟ) ในช่วง เดือนมกราคม 2558 ซึ่งถือเป็นการปิดฉากยุคอนาล็อก สู่ยุคดิจิตอลของวงการโทรทัศน์เมืองไทยอย่างเป็นทางการ
ส่วนเรื่องแนวทางการเตรียมตัวรับมือกับระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอลนั้น สำหรับ
หน่วยงานหรือองค์กรทั่วไปจะต้องซื้ออุปกรณ์ในการออกอากาศเป็นระบบดิจิตอลแทน
ที่ของเดิมซึ่งเป็นระบบอนาล็อก ส่วนภาคประชาชนก็อย่างที่บอกคือ
เตรียมเงินซื้อโทรทัศน์กับเครื่องแปลงสัญญาณ
แต่ถ้าใครมีโทรทัศน์รุ่นใหม่อยู่ที่บ้านส่วนใหญ่ก็เป็นแบบดิจิตอลแล้ว
แถมแว่วมาว่าทาง กสทช.จะช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายการติดตั้งด้วย
อีกทั้งช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล
จะออกอากาศทั้งในระบบสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอลควบคู่กันไป
เพราะฉะนั้นอย่าพึ่งกังวลเรื่องกระเป๋าสตางค์แฟ่บและเราก็มีเวลาเตรียมตัว
เข้าสู่ระบบดิจิตอลไปอีกระยะหนึ่งเลยแหละ
ส่วนทิศทางของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ในบ้านเราเมื่อมีระบบดิจิตอลเข้ามา มีผู้เชี่ยวชาญออกมาให้ความเห็นว่า จะ
มีผู้ใช้บริการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ที่มี 20 ล้านเครื่อง เป็น 40
ล้านเครื่องในอนาคตอันใกล้ และค่าโฆษณาต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว
รวมไปถึงจะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีกับผู้ชมอย่างเรา ๆ แน่นอน
ถือว่าเรื่องนี้เป็นข่าวดีทั้งหน่วยงาน ผู้ประกอบการ
และผู้บริโภคเหลือเกินที่จะได้มีทางเลือกรับชมรายการที่หลากหลายมากขึ้น
ยังไงก็อย่าลืมมานับถอยหลังเทรนด์ระบบโทรทัศน์แบบใหม่ที่กำลังจะเข้ามามี
อิทธิพลต่อชีวิตเราในเร็ว ๆ นี้กันด้วย อีกไม่นานเกินรอ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)