วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

Infographic

Infographic สื่อแนวใหม่ เข้าใจง่ายได้ประโยชน์ 

 

     ช่วงนี้ใครที่นิยมเล่นอินเตอร์เน็ตอยู่เป็นประจำก็คงจะเคยได้ยินคำว่า Infographic หรือบางคนก็อาจจะรู้จักเป็นอย่างดี แต่อีกหลายคนก็อาจจะยังงงๆ ว่าเอ๊ะ Infographic คืออะไรนะ? ถ้าให้จำกัดความกันสั้นๆ แบบเข้าใจกันง่ายๆ ก็คงต้องขอบอกว่า Infographic ก็คือการย่อยข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจนั่นเอง หรือบางครั้ง Infigraphic อาจจะมาในรูปแบบของ Movie Clip ก็ได้เช่นกัน


ภาพแบบ Infographic นี้มักเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก แต่ทำเป็นภาพที่สื่อออกมาแล้วเข้าใจได้ง่าย ใช้เวลาในการอ่านและดูภาพทั้งหมดได้ภายในเวลาสั้นๆ สำหรับครั้งนี้ eit-showcase มีภาพ Infographic ที่ให้ข้อมูลดีๆ มีประโยชน์มาฝาก เพื่อให้หลายๆ คนที่อาจจะยังไม่คุ้นเคยได้ทำความรู้จักกับสื่อแนวนี้กันก่อน
คราวหน้าเราจะมาบอกเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของ Infographic ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร มีจุดกำเนิดมาจากไหน ใครเป็นคนคิดค้น สารพัดเรื่องราวที่จะเป็นประโยชน์ให้คุณทันสมัยไม่ตกกระแส ติดตามได้ที่นี่ครับ ^_^


 
 

 


ทีวีระบบดิจิตอล

ถึงจุดเปลี่ยน! ปี 58 วงการโทรทัศน์ไทยก้าวสู่ระบบดิจิตอล

           ถ้าจะถามถึงรายการหรือละคร ที่กำลังออนแอร์ในโทรทัศน์เวลานี้มีอะไรที่ติดตามบ้าง เชื่อได้เลยว่าต้องมีหลายคนที่สามารถแนะนำได้เป็นคุ้งเป็นแคว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าระบบโทรทัศน์ที่ใช้ถ่ายทอดรายการและละครที่ใช้กัน อยู่ในบ้านเรานั้นเป็นระบบแบบไหน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้า เราจะไม่รู้หรือไม่ให้ความสนใจกับข่าวที่ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) กำลังบังคับให้มีการส่งสัญญาณรูปแบบดิจิตอลอย่างเป็นทางการในปี 2558 นี้ เพราะไม่ทราบว่า ผลของการเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนระบบสัญญาณจะส่งผลอย่างไรกับผู้ชมบ้าง

          จะว่าไปแล้วปกติระบบโทรทัศน์บ้านเราเป็นระบบแบบอนาล็อกมาโดยตลอด หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าระบบนี้มันเป็นอย่างไร...ระบบ อนาล็อกเป็นระบบทีวีที่แพร่สัญญาณโดยการนำเอาสัญญาณภาพมาผสมกับสัญญาณวิทยุ แพร่ภาพเป็นแบบเอเอ็ม และผสมสัญญาณเสียงเข้ากับคลื่น และแพร่สัญญาณเป็นแบบเอฟเอ็ม ซึ่งใช้ช่องความถี่ตามมาตรฐานในย่าน VHF ขนาด 7 เมกะเฮิรตซ์ และ UHF ขนาด 8 เมกะเฮิรตซ์ ที่ต้องใช้ช่องความถี่กว้างขนาดนี้ เนื่องจากว่าข้อมูลภาพแบบอนาล็อกเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ผิด กับระบบดิจิตอล ที่เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็น ดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับ ปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก

           ทั้งนี้ เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์ จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ

           สำหรับ ข้อดีของการมีระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอลเข้ามาใช้แทนระบบอนาล็อกนั้น คือการให้สัญญาณภาพและเสียงที่ดีขึ้น มีความคมชัดและมีระบบเสียงที่สมจริงมากขึ้น โดยที่สามารถผลิตรายการได้มากกว่า 1 รายการ (1 ช่อง) ในช่วงคลื่นเดิมที่ได้รับสัมปทานมา 7 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ผู้ชมสามารถเลือกรับชมรายการที่ต้องการได้ อย่างเช่น ช่องข่าว ช่องกีฬา สามารถรับชมรายการทีวี ขณะเดินทางในรถยนต์โดยที่ภาพไม่กระตุกหรือปัญหาสัญญาณอ่อน มีความเสถียรมากกว่า รวมทั้งยังรองรับการ ใช้งานในรูปแบบสื่อผสมต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต แตกต่างกับทีวีดาวเทียม ที่สัญญาณภาพจะต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ แถมยังมีข้อจำกัดในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงที่ด้อยกว่ามาก ทำให้สามารถดูได้ทุกที่ไม่มีสะดุด

           ถึงแม้ว่าหากดูจากประโยชน์ของมันแล้วก็ไม่เห็นมีข้อเสียอะไร แต่มันมีข้อ เสียอยู่แน่ล่ะ อย่างน้อยก็เงินในกระเป๋าเรานี้แหละ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่มีระบบดิจิตอลเข้ามาแล้ว โทรทัศน์รุ่นเก่า รุ่นคลาสสิคสมัยคุณย่าคุณยายที่เก็บรักษาไว้และยังดูได้ในปัจจุบันคงมีอัน ต้องควักเงินซื้อโทรทัศน์รุ่นใหม่ แต่ถ้าไม่ซื้อโทรทัศน์ก็ต้องซื้อกล่องรับสัญญาณ (เซ็ต ท็อป บ๊อกซ์) เพื่อแปลงสัญญาณออกอากาศจากระบบดิจิตอลเป็นระบบอนาล็อกเข้าโทรทัศน์ของเราอยู่ดี

           โดย ขณะนี้ทางกสทช.ได้กำหนดการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนา ล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล โดยมีเป้าหมายเริ่มทดลองการแพร่ภาพในอีก 6 เดือนข้างหน้า หรือภายในปีนี้ และน่าจะเริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอลได้ภายในต้นปี 2556 และภายใน 4 ปี จะมีการยุติการส่งสัญญาณในระบบอะนาล็อก และกำหนดให้ครัวเรือนในเมืองใหญ่สามารถรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ไม่น้อย กว่า 80% ภายใน 5 ปี จนสุดท้ายจะเริ่มกระบวนการยุติการให้บริการระบบอนาล็อก (อนาล็อก สวิตช์ ออฟ) ในช่วง เดือนมกราคม 2558 ซึ่งถือเป็นการปิดฉากยุคอนาล็อก สู่ยุคดิจิตอลของวงการโทรทัศน์เมืองไทยอย่างเป็นทางการ

           ส่วนเรื่องแนวทางการเตรียมตัวรับมือกับระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอลนั้น สำหรับ หน่วยงานหรือองค์กรทั่วไปจะต้องซื้ออุปกรณ์ในการออกอากาศเป็นระบบดิจิตอลแทน ที่ของเดิมซึ่งเป็นระบบอนาล็อก ส่วนภาคประชาชนก็อย่างที่บอกคือ เตรียมเงินซื้อโทรทัศน์กับเครื่องแปลงสัญญาณ แต่ถ้าใครมีโทรทัศน์รุ่นใหม่อยู่ที่บ้านส่วนใหญ่ก็เป็นแบบดิจิตอลแล้ว แถมแว่วมาว่าทาง กสทช.จะช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายการติดตั้งด้วย อีกทั้งช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล จะออกอากาศทั้งในระบบสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอลควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นอย่าพึ่งกังวลเรื่องกระเป๋าสตางค์แฟ่บและเราก็มีเวลาเตรียมตัว เข้าสู่ระบบดิจิตอลไปอีกระยะหนึ่งเลยแหละ

           ส่วนทิศทางของธุรกิจสื่อโทรทัศน์ในบ้านเราเมื่อมีระบบดิจิตอลเข้ามา มีผู้เชี่ยวชาญออกมาให้ความเห็นว่า จะ มีผู้ใช้บริการโทรทัศน์เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ที่มี 20 ล้านเครื่อง เป็น 40 ล้านเครื่องในอนาคตอันใกล้ และค่าโฆษณาต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว รวมไปถึงจะมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีกับผู้ชมอย่างเรา ๆ แน่นอน

           ถือว่าเรื่องนี้เป็นข่าวดีทั้งหน่วยงาน ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคเหลือเกินที่จะได้มีทางเลือกรับชมรายการที่หลากหลายมากขึ้น ยังไงก็อย่าลืมมานับถอยหลังเทรนด์ระบบโทรทัศน์แบบใหม่ที่กำลังจะเข้ามามี อิทธิพลต่อชีวิตเราในเร็ว ๆ นี้กันด้วย อีกไม่นานเกินรอ